Rule of MUAY THAI
กติกามวย

ข้อ ๕ เครื่องแต่งกาย

๕.๑ การแต่งกายของนักมวย

๕.๑.๑ สวมกางเกงขาสั้นเพียงครึ่งโคนเข่าให้เรียบร้อย ไม่สวมเสื้อ และรองเท้า นักมวยมุมแดงใช้กางเกง สีแดง สีชมพู สีเลือดหมู หรือสีขาว นักมวยมุมน้ำเงินใช้กางเกงสีน้ำเงิน สีกรมท่า หรือสีดำ

๕.๑.๒ ต้องสวมกระจับหรือเครื่องป้องกันที่ทำขึ้นจากวัสดุแข็งแรงคลุมอวัยวะเพศ สามารถป้องกันอันตรายจากเข่า หรืออวัยวะอื่นโดยผูกปมเชือกไว้ด้านหลังด้วยเงื่อนตาย เก็บปลายเชือกส่วนที่เหลือให้เรียบร้อย

๕.๑.๓ ไม่ไว้ผมยาวรุงรัง และไว้เครา อนุญาตให้ไว้หนวดได้แต่ต้องยาวไม่เกินริมฝีปาก

๕.๑.๔ เล็บมือและเล็บเท้า ต้องตัดให้เรียบและสั้น

๕.๑.๕ ต้องสวมมงคลเฉพาะเวลาไหว้ครูก่อนการแข่งขัน ส่วนระหว่างการแข่งขันอนุญาตให้ผูกผ้าประเจียด เครื่องราง หรือตะกรุดที่โคนแขน หรือที่เอวได้ แต่ต้องหุ้มผ้าให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันอันตราย

๕.๑.๖ ให้ใช้สนับรัดข้อเท้าได้ข้างละ ๑ อัน ห้ามเลื่อนขึ้นไปเป็นสนับแข้ง พับหรือม้วนลงมา ห้ามใช้ผ้ารัดขาและข้อเท้า

๕.๑.๗ไม่ให้ใช้เข็มขัดหรือเครื่องประดับที่เป็นวัสดุที่ทำให้เกิดอันตราย

๕.๑.๘ ไม่ให้ใช้น้ำมันวาสลิน น้ำมันร้อน ไขสมุนไพร หรือสิ่งอื่นทาร่างกายและนวม

๕.๑.๙ นักมวยต้องใส่ฟันยาง (สนับฟัน)

๕.๒ การละเมิดเกี่ยวกับเครื่องแต่งกาย

๕.๒.๑ เครื่องแต่งกายอื่นๆที่มิได้ระบุไว้ในข้อ ๕.๑ ต้องเอาออกก่อนไหว้ครู

๕.๒.๒ ในกรณีที่นักมวยแต่งกายไม่สะอาด หรือไม่ถูกต้อง ให้ผู้ชี้ขาดมีอำนาจสั่งแก้ไข

ข้อ ๖ การจำแนกรุ่นและการชั่งน้ำหนักตัว
๖.๑ การจำแนกรุ่น และกำหนดน้ำหนักตัวที่ใช้ในการแข่งขัน

๖.๑.๑ รุ่นมินิฟลายเวท น้ำหนักตัวตั้งแต่ ๑๐๐ ปอนด์ (๔๕.๓๕๙ กก.) และไม่เกิน ๑๐๕ ปอนด์ (๔๗.๖๒๗ กก.)

๖.๑.๒ รุ่นไลท์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๐๕ ปอนด์(๔๗.๖๒๗กก.)และไม่เกิน ๑๐๘ ปอนด์ (๔๘.๙๘๘ กก.)

๖.๑.๓ รุ่นฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๐๘ ปอนด์ (๔๘.๙๘๘ กก.) และไม่เกิน ๑๑๒ ปอนด์ (๕๐.๘๐๒ กก.)

๖.๑.๔ รุ่นซุปเปอร์ฟลายเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๑๒ปอนด์ (๕๐.๘๐๒ กก.) และไม่เกิน ๑๑๕ ปอนด์ (๕๒.๑๖๓ กก.)

๖.๑.๕ รุ่นแบนตั้มเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๑๕ปอนด์ (๕๒.๑๖๓กก.)และไม่เกิน ๑๑๘ ปอนด์ (๕๓.๕๒๔ กก.)

๖.๑.๖รุ่นซุปเปอร์แบนตั้มเวทน้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๑๘ปอนด์(๕๓.๕๒๔กก.)และไม่เกิน ๑๒๒ ปอนด์ (๕๕.๓๓๘ กก.)

๖.๑.๗ รุ่นเฟเธอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๒๒ ปอนด์ (๕๕.๓๓๘ กก.) และไม่เกิน ๑๒๖ ปอนด์ (๕๗.๑๕๓ กก.)

๖.๑.๘ รุ่นซุปเปอร์เฟเธอร์เวทน้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๒๖ ปอนด์ (๕๗.๑๕๓ กก.) และไม่เกิน ๑๓๐ ปอนด์ (๕๘.๙๖๗ กก.)

๖.๑.๙ รุ่นไลท์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๓๐ ปอนด์ (๕๘.๙๖๗ กก.) และไม่เกิน ๑๓๕ ปอนด์ (๖๑.๒๓๕ กก.)

๖.๑.๑๐ รุ่นซุปเปอร์ไลท์เวทน้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๓๕ ปอนด์ (๖๑.๒๓๕ กก.) และไม่เกิน ๑๔๐ ปอนด์ (๖๓.๕๐๓ กก.)

๖.๑.๑๑ รุ่นเวลเตอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๔๐ปอนด์(๖๓.๕๐๓ กก.)และไม่เกิน๑๔๗ ปอนด์ (๖๖.๖๗๘ กก.)

๖.๑.๑๒ รุ่นซุปเปอร์เวลเตอร์เวทน้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๔๗ ปอนด์ (๖๖.๖๗๘ กก.) และไม่เกิน ๑๕๔ ปอนด์ (๖๙.๘๕๓ กก.)

๖.๑.๑๓ รุ่นมิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๕๔ ปอนด์ (๖๙.๘๕๓ กก.) และไม่เกิน ๑๖๐ ปอนด์ (๗๒.๕๗๕ กก.)

๖.๑.๑๔ รุ่นซุปเปอร์มิดเดิลเวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๖๐ ปอนด์ (๗๒.๕๗๕ กก.) และไม่เกิน ๑๖๘ ปอนด์ (๗๖.๒๐๔ กก.)

๖.๑.๑๕ รุ่นไลท์เฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๖๘ ปอนด์ (๗๖.๒๐๔ กก.) และไม่เกิน ๑๗๕ ปอนด์ (๗๙.๓๗๙ กก.)

๖.๑.๑๖ รุ่นครุยเซอร์เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๗๕ ปอนด์ (๗๙.๓๗๙ กก.) และไม่เกิน

๑๙๐ ปอนด์ (๘๖.๑๘๓ กก.)

๖.๑.๑๗ รุ่นเฮฟวี่เวท น้ำหนักตัวต้องเกิน ๑๙๐ ปอนด์ขึ้นไป (๘๖.๑๘๓ กก. ขึ้นไป)

๖.๒ การชั่งน้ำหนักตัว

๖.๒.๑ นักมวยต้องชั่งน้ำหนักตัวโดยปราศจากเครื่องแต่งกาย ในวันแข่งขันภายใน

เวลา ๐๘.๐๐ น. – ๑๐.๐๐ น. นายสนามมวยอาจเปลี่ยนแปลงกำหนดระยะเวลาดังกล่าวได้หากมีเหตุผลที่เหมาะสม

๖.๒.๒ ก่อนชั่งน้ำหนักตัว นักมวยต้องได้รับการตรวจจากแพทย์และได้รับการรับรองว่ามีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

๖.๒.๓ ให้หัวหน้าค่ายมวย ผู้จัดการหรือผู้แทนของนักมวยทั้งสองฝ่ายมีสิทธิร่วมตรวจสอบการชั่งน้ำหนักตัว

๖.๓ ข้อกำหนดในการชั่งน้ำหนักตัว

๖.๓.๑ นักมวยต้องมีน้ำหนักตั้งแต่ ๑๐๐ ปอนด์ขึ้นไป

๖.๓.๒ นักมวยคู่แข่งขันไม่ว่าการแข่งขันทั่วๆ ไป หรือการแข่งขันชิงแชมป์เปี้ยน จะแข่งขันกันได้ต้องมีน้ำหนักตัวต่างกันไม่เกิน ๕ ปอนด์ ยกเว้น รุ่นเฮฟวี่เวท

๖.๓.๓ นักมวยจะต้องมีเวลาพักหลังจากผ่านการชั่งน้ำหนักตัว ไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง จึงจะทำการ แข่งขันได้

Pages: 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10