Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

www.muaythaisasiprapa.com

http://www.topkingboxing.com

 
สารบัญ
หน้าแรก
หมวดที่ 1
หมวดที่ 2
หมวดที่ 3
หมวดที่ 4

หมวด 4

กองทุนกีฬามวย

--------------

มาตรา ๕๒ ให้จัดตั้งกองทุนขึ้นกองทุนหนึ่งเรียกว่า "กองทุนกีฬามวย" ในการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อเป็นทุนหนุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุ้มครอง และควบคุมการกีฬามวย

กองทุนประกอบด้วยเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนี้

(๑) เงินอุดหนุนจากการกีฬาแห่งประเทศไทย

(๒) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

(๓) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน

(๔) เงินที่ได้จากค่าธรรมเนียมและค่าปรับตามพระราชบัญญัตินี้

(๕) รายได้ที่เกิดจากการดำเนินการกองทุน

(๖) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้

ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเก็บรักษาเงินและทรัพย์สินของกองทุนและดำเนินการเบิกจ่ายเงินกองทุนตามพระราชบัญญัตินี้ โดยจัดให้มีระบบการบัญชีที่เหมาะสมแก่กิจการ

ทุกปีให้การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดทำงบดุลและบัญชีทำการของกองทุนส่งผู้สอบบัญชีตรวจสอบภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี และให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นผู้สอบบัญชีของกองทุนแล้วทำรายงานผลการสอบบัญชีเสนอคณะกรรมการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป

ให้คณะกรรมการเป็นผู้จัดการกองทุน

การบริหาร การจัดหาประโยชน์ และการใช้จ่ายเงินกองทุน ให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด

หมวด ๕

บทกำหนดโทษ

---------------

มาตรา ๕๓ ผู้ใด

(๑) ไม่มาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหรือหลักฐานหรือสิ่งใดตามคำสั่งของคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ นายทะเบียน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วแต่กรณี ตามมาตรา ๑๑ ประกอบกับมาตรา ๙ (๔) และมาตรา ๒๑ (๒) โดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือ

(๒) ขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ของนายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๒๑ (๑)

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - ๑๒ -

มาตรา ๕๔ ผู้จัดรายการแข่งขันมวย หัวหน้าค่ายมวย หรือผู้จัดการนักมวยซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้จัดรายการแข่งขันมวย หัวหน้าค่ายมวย หรือผู้จัดการนักมวย ซึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๕ วรรคสอง

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๕ ผู้ใดจัดการแข่งขันกีฬามวยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๒๖ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๖ ผู้จัดรายการแข่งขันมวยหรือนายสนามมวยผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนเงื่อนไขในการอนุญาตที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๒๖ วรรคสาม ซึ่งเป็นเงื่อนไขในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ถ้าการฝ่าฝืนเงื่อนไขในการอนุญาตที่นายทะเบียนกำหนดตามมาตรา ๒๖ วรรคสามซึ่งไม่ใช่เงื่อนไขในสาระสำคัญ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

มาตรา ๕๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๗ วรรคหนึ่ง มาตรา ๒๘ วรรคสอง หรือมาตรา ๓๕ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๓๙ วรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๕๙ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๘ มาตรา ๔๙ หรือมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๐ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๕๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา ๖๑ ผู้ใดปลอมปนอาหาร ยา หรือเครื่องอุปโภคบริโภคอื่นใด เพื่อให้นักมวยเสพหรือใช้ และการปลอมปนนั้นน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพหรือทำให้นักมวยเสื่อมถอยกำลังที่จะชกมวยได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

บทเฉพาะกาล

--------------- - ๑๓ -

มาตรา ๖๒ ผู้ใดจัดตั้งสนามมวยอยู่แล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะประกอบกิจการดังกล่าวต่อไป ให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๒๗ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแล้วให้

ประกอบกิจการดังกล่าวต่อไปได้จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน

ผู้จัดตั้งสนามมวยซึ่งได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต้องเลิกประกอบกิจการดังกล่าวภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่อนุญาต

มาตรา ๖๓ ผู้ใดเป็นผู้จัดการนักมวย นายสนามมวย หรือผู้จัดรายการแข่งขันมวยอยู่แล้วก่อนหรือในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้าประสงค์จะเป็นผู้จัดการนักมวยนายสนามมวย หรือผู้จัดรายการแข่งขันมวย แล้วแต่กรณีต่อไป ต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรา ๓๕ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับเมื่อได้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตแล้วให้เป็นผู้จัดการนักมวย นายสนามมวย หรือผู้จัดรายการแข่งขันมวยแล้วแต่กรณี ต่อไปได้ จนกว่าจะได้รับแจ้งการไม่อนุญาตจากนายทะเบียน

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

ชวน หลีกภัย

นายกรัฐมนตรี - ๑๔ -

อัตราค่าธรรมเนียม

---------------

๑. ใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวย ฉบับละ ๕,๐๐๐ บาท

๒. ใบอนุญาตจัดการแข่งขันกีฬามวยเป็นกรณี เฉพาะคราว ฉบับละ ๑

,๐๐๐ บาท ๓. ใบอนุญาตเป็นผู้จัดการนักมวย นายสนามมวย

หรือผู้จัดรายการแข่งขันมวย ฉบับละ ๕๐๐ บาท

๔. ใบแทนใบอนุญาตจัดตั้งสนามมวย ฉบับละ ๑,๐๐๐ บาท ๕

. ใบแทนใบอนุญาตเป็นผู้จัดการนักมวย

นายสนามมวย หรือผู้จัดรายการแข่งขันมวย ฉบับละ ๓๐๐ บาท

๖. การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียม

สำหรับใบอนุญาต - ๑๕ -

หมายเหตุ:- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากกีฬามวยไทยเป็นศิลปะการต่อสู้และ

เป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางจากชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมทั้งการแข่งขันมวยไทยได้กลายเป็นกีฬามวยที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายแต่ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมดูแลการแข่งขันมวย และ

ส่งเสริมสนับสนุนกีฬามวยให้มีมาตรฐาน ดังนั้น สมควรให้มีกฎหมายเพื่อควบคุมกิจการดังกล่าวและเพื่อจัดให้มีสวัสดิการแก่นักมวยและบุคคลในวงการกีฬามวยที่เหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ข้อสังเกต

คำว่า ”นายกรัฐมนตรี “ ได้แก้ไขเป็น “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา” คำว่า “ผู้แทนกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม” ได้แก้ไขเป็น “ผู้แทนกระทรวงแรงงาน “ และคำว่า “ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ” ได้แก้ไขเป็น “ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา“ ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขบัญญัติให้สอดคล้องกับการโอนอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พ.ศ. 2545 มาตรา 39

จำนวนผู้เข้าชมเวปไซค์

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player